- Details
- Written by สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข
- Hits: 1525
ผลต่อเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ยังตามมาถึงในปีนี้ บ้านบางหลังในหมู่บ้านผมยังไม่ได้ทำการปรับปรุงใด ๆ บางหลังปล่อยเป็นบ้านร้างเพราะกลัวน้ำท่วมอีกในปีนี้ บ้านของผมอยู่ในโครงการแถวบางใหญ่จำนวนบ้าน 400 กว่าหลัง ปีที่แล้วน้ำท่วมสูงจากระดับถนน 1.00 – 1.50 ม. น้ำเข้าบ้านทุกหลัง ดังนั้น ในปีนี้จึงมีการจัดประชุมใหญ่เพื่อขอให้คณะกรรมการหมู่บ้านพิจารณาแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมของหมู่บ้าน โดยให้งบประมาณไว้ประมาณ 2 ล้านบาท คิดว่าหลายหมู่บ้านก็คงมีปัญหาคล้ายๆ กัน เท่าที่ทราบบางหมู่บ้านในแถวถนนราชพฤกษ์ ลูกบ้านจะต้องจ่ายค่าการป้องกันหมู่บ้านถึงหลังละ 70,000 บาท
เนื่องจากเป็นสมาชิกในหมู่บ้าน และเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำ จึงจำเป็นต้องเป็นอาสาสมัครที่ปรึกษาคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการหาแนวทางป้องกันน้ำท่วมหมู่บ้าน ผมในฐานะวิศวกรจึงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางในการป้องกันน้ำดังนี้
- แนวรั้วรอบหมู่บ้านนั้นไม่ได้ออกแบบให้ป้องกันน้ำ ดังนั้น ประเด็นความแข็งแรงในการรับแรงด้านข้างน่าจะมีปัญหา และเนื่องจากรั้วออกแบบไว้เพื่อเป็นแนวกั้นบริเวณ ดังนั้น แนวใต้รั้ว เมื่อดินทรุดตัวลงจึงมีช่องว่างตลอด ทำให้น้ำสามารถไหลเข้าได้
- การกันน้ำจะต้องทำแนวกั้นน้ำทั้งใต้ดินและบนดิน ตลอดแนวรั้วบางส่วนที่ไม่ติดกับพื้นที่บ้านน่าจะพอทำได้ แต่แนวรั้วที่อยู่ด้านข้างและด้านหลังบ้าน ซึ่งมีการต่อเติมจนชิดแนวรั้วจะทำอย่างไร การรื้อพื้นที่ต่อเติมออกแล้วก่อสร้างผนังกันน้ำ ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
- งบประมาณในการทำแนวกั้นน้ำสูงมาก โดยเฉพาะหมู่บ้านที่มีระดับต่ำและน้ำเคยท่วมสูง จะสามารถระดมเงินได้อย่างเพียงพอหรือไม่ เพราะเอาแค่เงินส่วนกลางเดือนละไม่กี่พันบาท บ้านบางหลังยังไม่ยอมจ่ายกันเลย หากต้องมาจ่ายถึงหลังละหลายหมื่น โดยส่วนตัวผมคิดว่ายากครับ
- ถึงจะหาเงินได้เพียงพอ การก่อสร้างแนวกั้นน้ำเพื่อให้สามารถกันน้ำได้จริง ๆ นักยากมาก เพราะเป็นการก่อสร้างภายหลัง จำกัดทั้งพื้นที่ในการทำงานและยากที่จะทำให้เป็นแนวต่อเนื่องได้ เพราะหากมีปัญหาไม่สามารถกันน้ำได้เพียงบางจุดเมื่อเกิดน้ำท่วมได้เช่นกัน และจะไม่สามารถทดสอบได้เลยว่าระบบที่ลงทุนไว้จะสามารถป้องกันน้ำได้ จนกว่าจะเกิดน้ำท่วมขึ้นอีก
- น้ำท่วมครั้งที่ผ่านมาเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด ยากที่จะบอกได้ว่าหากน้ำจะท่วมอีกจะสูงเท่าไร อาจจะมากกว่าที่เคยท่วมก็เป็นไปได้ แต่ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า เนื่องจากน้ำท่วมเกิดจากการบริหารจัดการ ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงไม่น่าจะปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก บทเรียนที่ผ่านมาเป็นบทเรียนที่เกินพอที่จะให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงผลของความผิดพลาดในการจัดการน้ำ
สุดท้ายผมอยากเสนอความคิดเห็นกับท่านคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือท่านเจ้าของบ้านทั้งหลายว่า ปัญหาการป้องกันน้ำท่วมนั้นควรเป็นภาระของใครครับ เพราะในสภาวะปัจจุบันตามเหตุผลข้างต้นนั้น การป้องกันน้ำท่วมระดับหมู่บ้านนั้นเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล และคิดว่าไม่สามารถกันน้ำได้จริง หรือหากสามารถกันน้ำไม่ให้เข้าบ้านหรือหมู่บ้านได้ แต่เราจะสามารถอยู่ได้อย่างไรในเมื่อมีน้ำล้อมรอบอยู่จนเดินทางไปไหนไม่ได้ ซึ่งความเห็นสุดท้ายของผมที่เสนอต่อหมู่บ้านก็คือ ไม่ต้องไปเสียเงินมหาศาลกับการป้องกันน้ำท่วมหมู่บ้าน แต่ควรไปกระตุ้นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการน้ำในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศดีกว่า แล้วเตรียมเงินไว้สำหรับดูแลตัวเองเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยก็ได้
- Details
- Written by สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข
- Hits: 1338
เมื่อน้ำลดแล้วแต่ละท่านต้องการกลับเข้าบ้านและใช้ชีวิตภายในบ้านอย่างปกติสุขเช่นที่ผ่านมาแต่เมื่อบ้านที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายจะมากหรือน้อย ทุกคนก็ต้องฟื้นฟู ทำความสะอาดซ่อมแซมบ้านก่อนที่เข้าอยู่อาศัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยคิดว่าเมื่อเดินเข้าบ้านของตัวเองก็จะพบสิ่งต่างๆ มากมายที่เปลี่ยนไปทั้งภายในและภายนอกบ้าน จนทำให้เจ้าของบ้าน งง ไม่รู้จะเริ่มต้นดำเนินการอย่างไรดีมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องจัดการ ทั้งขยะ ความสะอาด ความเสียหายของสิ่งของภายในบ้าน ฯลฯ
หนังสือคู่มือ "จัดการบ้านหลังน้ำท่วม" มีคำตอบ...
ดาวน์โหลด : คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำท่วม
- Details
- Written by สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข
- Hits: 1218
จากกรณีเกิดเหตุลอบวางเพลิงอาคารหลายแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ตามรายงานของกรุงเทพมหานคร สรุปจำนวนได้รวม 34 แห่ง ในช่วงหลังยุติการชุมนุมเมื่อวันพุธ ที่ 19 พฤษภาคม 2553 นั้น สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท), สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย (วปท) และสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร (ตปอ.) ได้จัดแถลงข่าวในวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 โดยมีความเห็นว่า อาคารที่เกิดเพลิงไหม้ดังกล่าวอาจเกิดอันตรายต่อประชาชนจากการถล่มลงมาทั้งหลังหรือบางส่วน อาคารที่ถูกเพลิงไหม้มีอัตราการทนไฟต่างกันตามขนาดของอาคารและวัสดุที่ก่อสร้าง โดยอาคารขนาดเล็ก เช่น ตึกแถว จะสามารถทนไฟได้ประมาณ 30 นาทีเท่านั้น ส่วนอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่อาจทนไฟได้นานประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากนั้น มีโอกาสพังถล่มได้ตลอดเวลา ดังนั้น การเข้าไปสำรวจ รื้อถอน หรือปรับปรุงอาคารดังกล่าวต้องดำเนินการโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
จุดประสงค์ในการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนครั้งนี้ เพื่อแจ้งว่าทั้ง 3 สมาคมข้างต้นได้ตกลงร่วมกันทำงานใน 3 เรื่อง คือ
1. ประชาสัมพันธ์ให้ข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับความเสียหายของอาคาร เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของอาคาร, เจ้าหน้าที่ดับเพลิง, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, ทหาร ที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ ได้ทราบว่าอาคารดังกล่าวมีความเสียหายในระดับใด เหมาะสมที่จะเข้าไปได้หรือไม่ โดยจำแนกความเสียหายเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 อาคารเสียหายอย่างรุนแรง มีลักษณะโครงสร้างที่เสียหาย ดังนี้
- พื้นยุบตัวลงมา
- คานพื้นสูญเสียระดับ
- ผนังเอียง ไม่มีตัวยึด
- โครงสร้างเสาเริ่มบวมตัว
อาคารประเภทดังกล่าว ห้ามเข้าใกล้อาคารอย่างเด็ดขาด ต้องให้วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญกำหนดวิธีการรื้อถอนเท่านั้น
ระดับ 2 อาคารเสียหายปานกลาง มีลักษณะโครงสร้างที่เสียหาย ดังนี้
- เสาและคานไม่เสียรูป
- พื้นแอ่นตัว
- คอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมกะเทาะร่อนในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ
อาคารดังกล่าว ยังพอมีสภาพที่จะไม่พังเสียหายอย่างทันทีทันใด การเข้าไปในอาคารหรือเข้าใกล้ สามารถทำได้อย่างระมัดระวัง ซึ่งต้องให้วิศวกรตรวจสอบในเชิงลึกอีกครั้ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการซ่อมแซมต่อไป
ระดับ 3 อาคารเสียหายเล็กน้อย มีลักษณะโครงสร้างที่เสียหาย ดังนี้
- มีเขม่าและรอยแตกร้าวตำแหน่งที่ไม่สำคัญ
- รูปทรงไม่เสียรูป
อาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่โครงสร้างเสียหายเล็กน้อย สามารถใช้งานได้เลย แต่ควรให้วิศวกรเข้าตรวจสอบเชิงลึกในพื้นที่ที่เสียหาย
2. การให้ความช่วยเหลือกับกรุงเทพมหานคร ในการออกร่วมสำรวจความเสียหายของอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ ตามที่กรุงเทพมหานครร้องขอ
3. การไปสำรวจอาคารที่เสียหายทันทีตามที่เจ้าของอาคารร้องขอมา โดยในเบื้องต้นจะเข้าไปตรวจสอบที่อาคารตลาดหลักทรัพย์
- Details
- Written by สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข
- Hits: 3101
สืบเนื่องจากพระเจดีย์และอาคารบริวารวัดบวรนิเวศมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก (พระเจดีย์ได้บูรณะครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2508) โดยปรากฎรอยแตกร้าวบริเวณผิวองค์เจดีย์โดยรอบ ส่งผลให้ผิวกระเบื้องโมเสททองชำรุด หลุดร่อนและพบปัญหาการรั่วซึมภายในองค์เจดีย์ พื้นภายในและลานประทักษิณทั้ง 2 ชั้น เกิดการทรุดตัวและแตกร้าว
ด้วยเหตุดังกล่าว สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ จึงโปรดให้คณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดบวรนิเวศ จัดทำโครงการบูรณะพระเจดีย์ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ร่วมกับบริษัท สโตนเฮ้นจ์ จำกัด และบริษัท กุฎาคาร จำกัด เป็นผู้ศึกษา สำรวจความเสียหาย, ออกแบบบูรณะ และควบคุมการบูรณะ โดยมีบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินการบูรณะ
ในเบื้องต้นได้คัดเนื้อหาเฉพาะส่วนงานวิศวกรรมโครงสร้างมานำเสนอ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวิศวกรที่มีความสนใจในการบูรณะโบราณสถาน
บทนำ
สืบเนื่องจากพระเจดีย์และอาคารบริวารวัดบวรนิเวศมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก (พระเจดีย์ได้บูรณะครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2508) โดยปรากฎรอยแตกร้าวบริเวณผิวองค์เจดีย์โดยรอบ ส่งผลให้ผิวกระเบื้องโมเสททองชำรุด หลุดร่อนและพบปัญหาการรั่วซึมภายในองค์เจดีย์ พื้นภายในและลานประทักษิณทั้ง 2 ชั้น เกิดการทรุดตัวและแตกร้าว
ด้วยเหตุดังกล่าว สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ จึงโปรดให้คณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดบวรนิเวศ จัดทำโครงการบูรณะพระเจดีย์ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ร่วมกับบริษัท สโตนเฮ้นจ์ จำกัด และบริษัท กุฎาคาร จำกัด เป็นผู้ศึกษา สำรวจความเสียหาย, ออกแบบบูรณะ และควบคุมการบูรณะ โดยมีบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินการบูรณะ
ในเบื้องต้นได้คัดเนื้อหาเฉพาะส่วนงานวิศวกรรมโครงสร้างมานำเสนอ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวิศวกรที่มีความสนใจในการบูรณะโบราณสถาน
1. สภาพปัญหาขององค์เจดีย์
1.1 มีรอยแตกร้าวปรากฎบนองค์เจดีย์
1.2 กระเบื้องโมเสดทองหลุดร่อน
1.3 พื้นลานประทักษิณโดยรอบมีรอยร้าว
1.4 ภายในคูหาภายในเจดีย์มีการรั่วซึมจนปูนฉาบหลุดร่อน
1.5 ทิมคตและพื้นภายในคูหาทรุด
1.6 ปรับปรุงระบบการเดินไฟฟ้าและการป้องกันฟ้าผ่าใหม่
1.7 ขาดระบบรักษาความปลอดภัย
สภาพปัญหาที่เกิดกับองค์เจดีย์
2. การสำรวจทางกายภาพขององค์เจดีย์
- การสำรวจผิวองค์เจดีย์
การสำรวจผิวองค์เจดีย์
- การขุดสำรวจที่ลานประทักษิณ
แสดงตำแหน่งหลุมเจาะ และวิธีการเจาะ
แสดงตำแหน่ง และชั้นดินใต้ลานประทักษิณ
3. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิธีการศึกษาและวิเคราะห์
- วิเคราะห์การรับน้ำหนักขององค์เจดีย์ ด้วยโปรแกรม Finite Element
- วิเคราะห์การรับน้ำหนักและคุณสมบัติของดินรอบเจดีย์
- ความแข็งแรงขององค์เจดีย์ องค์พระเจดีย์ยังมีสภาพโครงสร้างหลักที่แข็งแรง พบเพียงการเกิดแรงดึงในบางส่วนขององค์พระเจดีย์ จึงทำให้เกิดรอยร้าวเพียงบางส่วน
- การทรุดตัว พบมีการทรุดตัวขององพระเจดีย์ตั้งแต่แรกสร้าง ปัจจุบันยังไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทรุดตัว
4. การออกแบบบูรณะ
4.1 งานวิศวกรรมโครงสร้าง
- งานซ่อมผิวเจดีย์ด้วย FERRO CEMENT
- งานเจาะเย็บองค์พระเจดีย์ ด้วย HOT DIP GALVANIZED
- งานเจาะช่องระบายความชื้นบริเวณฐานพระเจดีย์
- ซ่อนพื้นลานประทักษิณ ปรับพื้นลานใหม่ให้มีความแข็งแรง เทเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก
- การซ่อมพื้นภายในคูหา เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กและปรับระดับพื้นใหม่
- งานซ่อมปรางค์ทิศ
5. รูปถ่ายการเสริมความแข็งแรงโครงสร้าง และงาน Ferro Cement องค์พระเจดีย์
1. ส่วนปลียอด
รูป 1.1 การเสริมความแข็งแรงโดยใช้สแตนเลสเป็นแกนและวงแหวนรัดรอบ
รูป 1.2 การฉาบ Ferro Cement
รูป 1.3 สภาพหลังการฉาบ Ferro Cement
2. ส่วนปล้องไฉน
รูป 2.1 การเสริมความแข็งแรงโดยใช้สแตนเลสเป็นแกนและวงแหวนรัดรอบ
รูป 2.2 การเสริมความแข็งแรงโดยใช้สแตนเลสเป็นแกนและวงแหวนรัดรอบ
3. ส่วนองค์ระฆัง
รูป 3.1 การเสริมความแข็งแรงโดยทำคานรัดรอบองค์ระฆัง
รูป 3.2 การติดตั้งตะแกรงกรงไก่เตรียมการฉาบ Ferro Cement
4. ส่วนบัวปากระฆัง มาลัยเถา ฐานปัทม์ และฐานเขียง
รูป 4.1 การเจาะเย็บด้วย Hot-Dip Galvanized
- Details
- Written by สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข
- Hits: 2487
เหล็กเสริมสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่รับแรงดึง (คอนกรีตปกติไม่สามารถรับแรงดึงได้) และช่วยให้คอนกรีตรับแรงอัดได้มากขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระดูกยึดคอนกรีตไว้
ในปัจจุบันสามารถแบ่งเหล็กเสริมคอนกรีตได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เหล็กเส้นและเหล็กตะแกรง โดยเหล็กตะแกรงเป็นลักษณะของลวดเหล็กกำลังสูง เชื่อมยึดเป็นตะแกรงมาจากโรงงาน ทำให้สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องผูก ซึ่งปกติจะใช้เสริมในพื้นสำเร็จหรือถนน
เหล็กเสริมสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่รับแรงดึง (คอนกรีตปกติไม่สามารถรับแรงดึงได้) และช่วยให้คอนกรีตรับแรงอัดได้มากขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระดูกยึดคอนกรีตไว้
ในปัจจุบันสามารถแบ่งเหล็กเสริมคอนกรีตได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เหล็กเส้นและเหล็กตะแกรง โดยเหล็กตะแกรงเป็นลักษณะของลวดเหล็กกำลังสูง เชื่อมยึดเป็นตะแกรงมาจากโรงงาน ทำให้สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องผูก ซึ่งปกติจะใช้เสริมในพื้นสำเร็จหรือถนน
ส่วนเหล็กเส้น ยังสามารถแบ่งตามลักษณะภายนอกได้เป็น 2 ประเภท คือเหล็กกลมและเหล็กข้ออ้อย โดยเหล็กกลมจะมีหน้าตัดกลางและมีผิวเรียบ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6, 9, 12, 15, 19, 22 และ 25 มม. หรือเรียกตามภาษาช่างว่าเหล็กขนาด 2 หุน, 3 หุน, 4 หุน, 5 หุน, 6 หุน, 7 หุน และเหล็ก 1 นิ้ว ตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันเหล็กกลมที่นิยมใช้คือขนาด 6 และ 9 มม. เพื่อใช้เป็นเหล็กปลอกและเสริมพื้น ส่วนเหล็กขนาดอื่น ๆ มักจะใช้เหล็กข้ออ้อยแทน เพราะสามารถรับแรงได้มากกว่า
เหล็กข้ออ้อยจะมีผิวเป็นลักษณะบั้ง เพื่อให้สามารถยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี โดยเหล็กข้ออ้อยในปัจจุบันมี 3 เกรด คือ SD30, SD40 และ SD50 ซึ่งมีกำลังครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000 และ 5000 กก. ต่อ ตร.ซม. ตามลำดับ ซึ่งทั่วไปสำหรับอาคารขนาดเล็กเช่นอาคารพักอาศัยทั่วไป มักจะใช้เหล็กเกรด SD30 เนื่องจากความแข็งไม่มากนัก สามารถดัดและดัดโดยใช้แรงคนได้ และสามารถซื้อได้ตามร้านขายวัสดุทั่วไป ส่วนเหล็กเกรด SD40 และ SD50 เหมาะสำหรับอาคารขนาดใหญ่ หรือบริษัทรับเหมาที่มีอุปกรณ์เครื่องมือตัด เนื่องจากเหล็กมีความแข็ง ทำให้ต้องตัดหรือดัดด้วยเครื่องมือ
ความยาวของเหล็กเสริมที่หาซื้อจากร้านค้าทั่วไปคือ 10 เมตร แต่กำลังซื้อจำนวนมากจากโรงงานสามารถสั่งความยาวพิเศษคือ 12 เมตรได้ ข้อควรระวังในการตรวจสอบเหล็กเสริมเบื้องต้นมีดังนี้
- เหล็กเสริมที่ขายในตลาดมี 2 ประเภท คือเหล็กเต็ม และเหล็กไม่เต็ม เหล็กเต็มคือเหล็กที่มีขนาดเป็นไปตามมาตรฐาน ส่วนเหล็กไม่เต็มคือเหล็กที่มีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการนำเหล็กไม่เต็มมาใช้งาน วิธีพิจารณาเลือกเหล็กที่ง่ายที่สุด คือ ถ้าเป็นเหล็กเต็มต้องมีสัญลักษณ์ มอก. ซึ่งปั๊มนูนติดบนเหล็กเส้นทุกเส้น
- เมื่อสั่งซื้อเหล็กมาแล้ว ให้ตรวจสอบว่ามีน้ำมัน, สนิม หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ อยู่บนหล็กเสริมหรือไม่ หากมีต้องขจัดออกให้หมด